วิจิตรศิลป์ (Fine Art)
“วิจิตรศิลป์” หมายถึง งานศิลปะที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชีวิต
ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 จำพวก ดังนี้
“วิจิตรศิลป์” หมายถึง งานศิลปะที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชีวิต
ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 จำพวก ดังนี้
1.1 จำพวกศิลปะทางกายภาพ หมายถึง กลุ่มงานวิจิตรศิลป์ที่เมื่อสร้างขึ้นแล้วปรากฏให้เห็นเป็นรูปร่าง ทรวดทรง มีปริมาตร กินที่ว่างในอากาศ สัมผัสได้ด้วยประสาทต่างๆ กลุ่มนี้ประกอบด้วยงานวิจิตรศิลป์ในแขนงต่างๆ ดังนี้
· “จิตรกรรม” (Painting) หมายถึง การเขียนโดยใช้สีหรือวัสดุใดๆ ก็ตาม
ให้บังเกิดเป็นภาพต่างๆ เช่น ภาพคนเหมือน (Portrait) ภาพหุ่นนิ่ง
(Still life) ภาพคน (Human figure) ภาพสัตว์ (Animal figure)
ภาพทิวทัศน์ (Landscape) เป็นต้น ซึ่งเป็นการถ่ายทอดภาพจากธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ลงบนระนาบ 2 มิติ แบบราบ เช่น กระดาษ ผ้าใบ
ผนัง เป็นต้น จิตรกรรมมีหลายแขนง จึงมีการเรียกชื่อของจิตรกรรม
แต่ละแขนงแตกต่างกันไปโดยพิจารณาจากวัสดุที่ใช้ จากเรื่องราว หรือ
จากตำแหน่งที่ติดตั้งผลงานที่สร้างขึ้น ฯลฯ แล้วแต่ความเหมาะสม เช่น
จิตรกรรมสีน้ำ จิตรกรรมสีฝุ่น จิตรกรรมหุ่นนิ่ง จิตกรรมภาพคน จิตรกรรมฝาผนัง เป็นต้น และศิลปินผู้สร้างงานจิตรกรรมนี้ เรียกว่า “จิตรกร”
ให้บังเกิดเป็นภาพต่างๆ เช่น ภาพคนเหมือน (Portrait) ภาพหุ่นนิ่ง
(Still life) ภาพคน (Human figure) ภาพสัตว์ (Animal figure)
ภาพทิวทัศน์ (Landscape) เป็นต้น ซึ่งเป็นการถ่ายทอดภาพจากธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ลงบนระนาบ 2 มิติ แบบราบ เช่น กระดาษ ผ้าใบ
ผนัง เป็นต้น จิตรกรรมมีหลายแขนง จึงมีการเรียกชื่อของจิตรกรรม
แต่ละแขนงแตกต่างกันไปโดยพิจารณาจากวัสดุที่ใช้ จากเรื่องราว หรือ
จากตำแหน่งที่ติดตั้งผลงานที่สร้างขึ้น ฯลฯ แล้วแต่ความเหมาะสม เช่น
จิตรกรรมสีน้ำ จิตรกรรมสีฝุ่น จิตรกรรมหุ่นนิ่ง จิตกรรมภาพคน จิตรกรรมฝาผนัง เป็นต้น และศิลปินผู้สร้างงานจิตรกรรมนี้ เรียกว่า “จิตรกร”
· “ประติมากรรม” (Sculpture) หมายถึง การปั้น การแกะ หรือการหล่อขึ้นเป็นรูปทรงสามมิติ เช่น รูปคน รูปสัตว์ รูปสิ่งของ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นรูปทรงสามมิติที่เกี่ยวข้องกับศาสนาโดยเฉพาะ เช่น รูปปั้นพระพุทธรูป
เราเรียกว่า “ปฏิมากรรม” ประติมากรรมแบ่งออกเป็น 2 แขนง ดังนี้
เราเรียกว่า “ปฏิมากรรม” ประติมากรรมแบ่งออกเป็น 2 แขนง ดังนี้
(1) ประติมากรรมปั้นและหล่อ หมายถึง การปั้นวัสดุต่างๆ ให้เป็นรูปทรงต่างๆ ตามความต้องการ แล้วจึงนำไปหล่อด้วยโลหะหรือปูนปลาสเตอร์ให้มีจำนวนมากความตามต้องการ
(2) ประติมากรรมแกะสลัก หมายถึง การแกะสลัก หรือเจียระไนวัสดุ- ต่างๆ เช่น ไม้ หิน หยก งาช้าง ฯลฯ ให้เป็นรูปทรงตามต้องการ
นอกจากนี้ เรายังแบ่งผลงานของประติมากรรมออกได้เป็น 3 ลักษณะคือ ประเภทนูนต่ำ ประเภทนูนสูง และประเภทลอยตัว ซึ่งเราจะเรียกผู้สร้างงานปฏิมากรรมว่า “ปฏิมากร”
· “สถาปัตยกรรม” (Architecture) หมายถึง การออกแบบก่อสร้างสิ่งต่างๆ
ทั้งสิ่งก่อสร้างที่คนทั่วไปอยู่อาศัยได้ เช่น ตึก อาคาร บ้าน เป็นต้น และสิ่งก่อสร้างที่คนเข้าไปอยู่อาศัยไม่ได้ เช่น สถูป เจดีย์ อนุสาวรีย์ เป็นต้นนอกจากนี้ยังรวมถึงการกำหนดผังบริเวณต่างๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามและเป็นประโยชน์แก่การใช้สอยตามต้องการ งานสถาปัตยกรรมเป็นแหล่ง-รวมของงานศิลปะทางกายภาพเกือบทุกชนิด และมักมีรูปแบบแสดงเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆ ในช่วงเวลานั้นๆ เราแบ่งลักษณะงานของสถาปัตยกรรมออกได้เป็น 3 แขนงดังนี้ คือ
ทั้งสิ่งก่อสร้างที่คนทั่วไปอยู่อาศัยได้ เช่น ตึก อาคาร บ้าน เป็นต้น และสิ่งก่อสร้างที่คนเข้าไปอยู่อาศัยไม่ได้ เช่น สถูป เจดีย์ อนุสาวรีย์ เป็นต้นนอกจากนี้ยังรวมถึงการกำหนดผังบริเวณต่างๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามและเป็นประโยชน์แก่การใช้สอยตามต้องการ งานสถาปัตยกรรมเป็นแหล่ง-รวมของงานศิลปะทางกายภาพเกือบทุกชนิด และมักมีรูปแบบแสดงเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆ ในช่วงเวลานั้นๆ เราแบ่งลักษณะงานของสถาปัตยกรรมออกได้เป็น 3 แขนงดังนี้ คือ
(1) สถาปัตยกรรมออกแบบสิ่งก่อสร้าง เช่น การออกแบบสร้างตึก
อาคาร บ้านเรือน เป็นต้น
(2) ภูมิสถาปัตย์ เช่น การออกแบบวางผังจัดบริเวณ วางผังปลูกต้นไม้
จัดสวน เป็นต้น
(3) สถาปัตยกรรมผังเมือง ได้แก่ การออกแบบบริเวณเมืองให้เป็นระเบียบ มีความสะอาด มีความรวดเร็วในการติดต่อ และถูกหลักสุขาภิบาล
เราเรียกผู้สร้างงานสถาปัตยกรรมว่า “สถาปนิก”
อาคาร บ้านเรือน เป็นต้น
(2) ภูมิสถาปัตย์ เช่น การออกแบบวางผังจัดบริเวณ วางผังปลูกต้นไม้
จัดสวน เป็นต้น
(3) สถาปัตยกรรมผังเมือง ได้แก่ การออกแบบบริเวณเมืองให้เป็นระเบียบ มีความสะอาด มีความรวดเร็วในการติดต่อ และถูกหลักสุขาภิบาล
เราเรียกผู้สร้างงานสถาปัตยกรรมว่า “สถาปนิก”
· “ภาพพิมพ์” (Graphic Art) หมายถึง ผลงานศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยวิธีการพิมพ์ กดให้ติดเป็นภาพบนกระดาษจากแม่พิมพ์ชนิดต่างๆ เช่น
แม่พิมพ์ไม้ แม่พิมพ์โลหะ หรือแม่พิมพ์อื่นใด ซึ่งแม่พิมพ์เหล่านั้นศิลปินได้สร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยตัวของเขาเอง
แม่พิมพ์ไม้ แม่พิมพ์โลหะ หรือแม่พิมพ์อื่นใด ซึ่งแม่พิมพ์เหล่านั้นศิลปินได้สร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยตัวของเขาเอง
การพิมพ์ภาพนั้น จะต้องมีแม่พิมพ์ที่ใช้เป็นแบบอย่างในการพิมพ์
ซึ่งสามารถเลือกใช้วัสดุต่างๆ นำมาเป็นแม่พิมพ์ได้ เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ไม้
กระดาษ ไม้ก๊อก กระดุม ขวด ชิ้นเผือก เป็นต้น แต่วัสดุต่างๆ ที่จะนำมาเป็นแม่พิมพ์นั้น ต้องมีร่อง มีรอย ซึ่งจะเป็นร่องลึกมากหรือลึกน้อย ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะแบบอย่างหรือรูปแบบในการพิมพ์ การพิมพ์ภาพในขั้นตอนแรกจะต้องออกแบบหรือร่างแบบเสียก่อน เพื่อที่จะได้ภาพพิมพ์ที่สวยงาม และถูกต้องตามแบบอย่างที่ต้องการ
ซึ่งสามารถเลือกใช้วัสดุต่างๆ นำมาเป็นแม่พิมพ์ได้ เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ไม้
กระดาษ ไม้ก๊อก กระดุม ขวด ชิ้นเผือก เป็นต้น แต่วัสดุต่างๆ ที่จะนำมาเป็นแม่พิมพ์นั้น ต้องมีร่อง มีรอย ซึ่งจะเป็นร่องลึกมากหรือลึกน้อย ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะแบบอย่างหรือรูปแบบในการพิมพ์ การพิมพ์ภาพในขั้นตอนแรกจะต้องออกแบบหรือร่างแบบเสียก่อน เพื่อที่จะได้ภาพพิมพ์ที่สวยงาม และถูกต้องตามแบบอย่างที่ต้องการ
1.1 โสตศิลป์ และศิลปะการแสดง หมายถึง กลุ่มงานวิจิตรศิลป์ ที่เมื่อสร้างขึ้นแล้ว
ไม่มีปริมาตร ไม่กินพื้นที่ว่างในอากาศ ไม่ปรากฏรูปร่างให้สัมผัสได้ มีแต่เสียง หรือ
ความเคลื่อนไหว อาจสัมผัสได้แต่สิ่งแทนหรือเครื่องมือ ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึก และอารมณ์ได้ กลุ่มนี้ประกอบด้วยงานวิจิตรศิลป์ในแขนงต่างๆ ดังนี้
ไม่มีปริมาตร ไม่กินพื้นที่ว่างในอากาศ ไม่ปรากฏรูปร่างให้สัมผัสได้ มีแต่เสียง หรือ
ความเคลื่อนไหว อาจสัมผัสได้แต่สิ่งแทนหรือเครื่องมือ ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึก และอารมณ์ได้ กลุ่มนี้ประกอบด้วยงานวิจิตรศิลป์ในแขนงต่างๆ ดังนี้
· โสตศิลป์ (Audio Art) ซึ่งประกอบด้วยงานศิลปะในแขนงต่างๆ ดังนี้
(1) วรรณกรรม (Literature) ได้แก่ งานประพันธ์วรรณคดีต่างๆ
(2) ดนตรี (Music) หรือที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า ดุริยางคศิลป์
(2) ดนตรี (Music) หรือที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า ดุริยางคศิลป์
ได้แก่ การขับร้องและการบรรเลงต่างๆ
ศิลปะการแสง (Performing Art) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า นาฏศิลป์ ซึ่งได้แก่ การร่ายรำและการละครต่างๆ