วิจิตรศิลป์ (Fine Art)

วิจิตรศิลป์ (Fine Art)
        วิจิตรศิลป์” หมายถึง  งานศิลปะที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชีวิต 
ซึ่งแบ่งออกได้เป็น
  2 จำพวก ดังนี้           
1.1 จำพวกศิลปะทางกายภาพ หมายถึง กลุ่มงานวิจิตรศิลป์ที่เมื่อสร้างขึ้นแล้วปรากฏให้เห็นเป็นรูปร่าง ทรวดทรง มีปริมาตร กินที่ว่างในอากาศ สัมผัสได้ด้วยประสาทต่างๆ กลุ่มนี้ประกอบด้วยงานวิจิตรศิลป์ในแขนงต่างๆ  ดังนี้
·       จิตรกรรม (Painting) หมายถึง การเขียนโดยใช้สีหรือวัสดุใดๆ ก็ตาม
ให้บังเกิดเป็นภาพต่างๆ เช่น ภาพคนเหมือน (Portrait) ภาพหุ่นนิ่ง
 (Still life) ภาพคน (Human figure)  ภาพสัตว์ (Animal figure) 
ภาพทิวทัศน์
 (Landscape) เป็นต้น ซึ่งเป็นการถ่ายทอดภาพจากธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอื่นๆ  ลงบนระนาบ 2 มิติ แบบราบ เช่น กระดาษ ผ้าใบ 
ผนัง
 เป็นต้น จิตรกรรมมีหลายแขนง  จึงมีการเรียกชื่อของจิตรกรรม
แต่ละแขนงแตกต่างกันไปโดยพิจารณาจากวัสดุที่ใช้ จากเรื่องราว
  หรือ
จากตำแหน่งที่ติดตั้งผลงานที่สร้างขึ้น
 ฯลฯ แล้วแต่ความเหมาะสม เช่น
จิตรกรรมสีน้ำ
 จิตรกรรมสีฝุ่น จิตรกรรมหุ่นนิ่ง จิตกรรมภาพคน จิตรกรรมฝาผนัง  เป็นต้น และศิลปินผู้สร้างงานจิตรกรรมนี้ เรียกว่า “จิตรกร”
·       ประติมากรรม (Sculpture) หมายถึง การปั้น การแกะ หรือการหล่อขึ้นเป็นรูปทรงสามมิติ เช่น รูปคน รูปสัตว์ รูปสิ่งของ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นรูปทรงสามมิติที่เกี่ยวข้องกับศาสนาโดยเฉพาะ เช่น รูปปั้นพระพุทธรูป 
เราเรียกว่า
 “ปฏิมากรรม” ประติมากรรมแบ่งออกเป็น  2 แขนง ดังนี้ 
(1)  ประติมากรรมปั้นและหล่อ หมายถึง การปั้นวัสดุต่างๆ ให้เป็นรูปทรงต่างๆ ตามความต้องการ แล้วจึงนำไปหล่อด้วยโลหะหรือปูนปลาสเตอร์ให้มีจำนวนมากความตามต้องการ
                                      (2)  ประติมากรรมแกะสลัก หมายถึง การแกะสลัก หรือเจียระไนวัสดุ-                                      ต่างๆ เช่น ไม้ หิน หยก งาช้าง ฯลฯ ให้เป็นรูปทรงตามต้องการ 
นอกจากนี้  เรายังแบ่งผลงานของประติมากรรมออกได้เป็น 3 ลักษณะ
 คือ ประเภทนูนต่ำ ประเภทนูนสูง และประเภทลอยตัว 
ซึ่งเราจะเรียกผู้สร้างงานปฏิมากรรมว่า “ปฏิมากร”

·       สถาปัตยกรรม” (Architecture) หมายถึง การออกแบบก่อสร้างสิ่งต่างๆ
ทั้งสิ่งก่อสร้างที่คนทั่วไปอยู่อาศัยได้
 เช่น ตึก อาคาร บ้าน เป็นต้น และสิ่งก่อสร้างที่คนเข้าไปอยู่อาศัยไม่ได้ เช่น สถูป เจดีย์ อนุสาวรีย์ เป็นต้นนอกจากนี้ยังรวมถึงการกำหนดผังบริเวณต่างๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามและเป็นประโยชน์แก่การใช้สอยตามต้องการ งานสถาปัตยกรรมเป็นแหล่ง-รวมของงานศิลปะทางกายภาพเกือบทุกชนิด และมักมีรูปแบบแสดงเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆ  ในช่วงเวลานั้นๆ เราแบ่งลักษณะงานของสถาปัตยกรรมออกได้เป็น 3 แขนงดังนี้  คือ 
(1)  สถาปัตยกรรมออกแบบสิ่งก่อสร้าง เช่น การออกแบบสร้างตึก
 อาคาร บ้านเรือน  เป็นต้น
       (2)  ภูมิสถาปัตย์ เช่น การออกแบบวางผังจัดบริเวณ วางผังปลูกต้นไม้
 จัดสวน  เป็นต้น
       (3)  สถาปัตยกรรมผังเมือง ได้แก่ การออกแบบบริเวณเมืองให้เป็นระเบียบ มีความสะอาด มีความรวดเร็วในการติดต่อ และถูกหลักสุขาภิบาล
       เราเรียกผู้สร้างงานสถาปัตยกรรมว่า  “สถาปนิก” 
·        ภาพพิมพ์ (Graphic Art) หมายถึง ผลงานศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยวิธีการพิมพ์  กดให้ติดเป็นภาพบนกระดาษจากแม่พิมพ์ชนิดต่างๆ เช่น
 แม่พิมพ์ไม้ แม่พิมพ์โลหะ หรือแม่พิมพ์อื่นใด ซึ่งแม่พิมพ์เหล่านั้นศิลปินได้สร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยตัวของเขาเอง
การพิมพ์ภาพนั้น จะต้องมีแม่พิมพ์ที่ใช้เป็นแบบอย่างในการพิมพ์ 
ซึ่งสามารถเลือกใช้วัสดุต่างๆ
 นำมาเป็นแม่พิมพ์ได้ เช่น ใบไม้ กิ่งไม้  ไม้
กระดาษ
 ไม้ก๊อก กระดุม ขวด ชิ้นเผือก เป็นต้น แต่วัสดุต่างๆ ที่จะนำมาเป็นแม่พิมพ์นั้น ต้องมีร่อง มีรอย ซึ่งจะเป็นร่องลึกมากหรือลึกน้อย ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะแบบอย่างหรือรูปแบบในการพิมพ์ การพิมพ์ภาพในขั้นตอนแรกจะต้องออกแบบหรือร่างแบบเสียก่อน เพื่อที่จะได้ภาพพิมพ์ที่สวยงาม และถูกต้องตามแบบอย่างที่ต้องการ
1.1  โสตศิลป์ และศิลปะการแสดง หมายถึง กลุ่มงานวิจิตรศิลป์ ที่เมื่อสร้างขึ้นแล้ว
ไม่มีปริมาตร ไม่กินพื้นที่ว่างในอากาศ
 ไม่ปรากฏรูปร่างให้สัมผัสได้ มีแต่เสียง หรือ
ความเคลื่อนไหว อาจสัมผัสได้แต่สิ่งแทนหรือเครื่องมือ ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึก และอารมณ์ได้
  กลุ่มนี้ประกอบด้วยงานวิจิตรศิลป์ในแขนงต่างๆ ดังนี้             
·       โสตศิลป์ (Audio Art) ซึ่งประกอบด้วยงานศิลปะในแขนงต่างๆ ดังนี้
                                      (1)  วรรณกรรม (Literature) ได้แก่ งานประพันธ์วรรณคดีต่างๆ
                                      (2)  ดนตรี (Music) หรือที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า ดุริยางคศิลป์
 ได้แก่  การขับร้องและการบรรเลงต่างๆ
ศิลปะการแสง (Performing Art) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า นาฏศิลป์ 
ซึ่งได้แก่
 การร่ายรำและการละครต่างๆ